อุปกรณ์ในการใช้เล่นแบดมินตัน



shuttlecock1-thumb.jpg


  ลูกขนไก่  

     ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุสังเคราะห์ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตามลักษณะวิถีวิ่งโดยทั่วไปจะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากธรรมชาติโดยมีหัวไม้คอร์กเป็นฐานลูกขนไก่ต้องมีขน16 อันปักอยู่บนฐานวัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐานโดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 6.2 มิลลิเมตร ถึง 70 มิลลิเมตร ปลายขาแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58มิลลิเมตร ถึง 68 มิลลิเมตรขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลิเมตร ถึง 28 มิลลิเมตร และส่วนกลางมนกลมลูกขนไก่จะต้องมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง5.50 กรัม


 การทดสอบความเร็วของลูก  

   การทดสอบให้ยืนหลังเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรงโดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลังลูกจะพุ่งเป็นมุมสูงอยู่ในแนวขนานกับเส้นเขตข้างลูกที่มีความเร็วถูกต้อง จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 530 มิลลิเมตร และไม่มากกว่า 990 มิลลิเมตร


r16_2.gif

แร็กเกต
      

    เฟรมของแร็กเตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มิลลิเมตรและกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มิลลิเมตร ด้ามจับ เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้จับพื้นที่ขึงเอ็นเป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก ก้านของไม้จะ ต่อจากด้ามจับถึงหัวไม้ พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางตัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลางไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่นๆ พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มิลลิเมตรและความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มิลลิเมตร แร็กเกตต้องปราศจากวัสดุอื่นติดอยู่หรือยื่นออกมายกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอชำรุดเสียหายการสั่นสะเทือนการกระจายน้ำหนักหรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่นและมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าวและต้องปราศจากสิ่ง ประดิษฐ์อื่นๆที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต






Image result for อุปกรณ์ แบดมินตัน


สนาม 

   สนามจัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากกีฬาแบดมินตันได้วิวัฒนาการจากกีฬาที่นิยมเล่นกลางแจ้ง แต่เดิมเคยใช้สนามหญ้าหรือสนามดิน หรือปูนซีเมนต์มาสู่ความเป็นมาตรฐานที่อยู่ในร่ม ตามประวัติสนามที่เป็นมาตรฐานในร่มแห่งแรกได้ริเริ่มสร้างที่สโมสรยูนิตี้ โดยคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร หรือนายประวัติ ปัตตพงษ์ ซึ่งท่านได้รับการยกย่องจากวงการแบดมินตันว่าเป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันไทย ท่านมีเป้าหมายเพื่อฝึกผู้เล่นให้เคยชินกับสภาพในร่ม ในระยะแรก ๆ นั้น สนามแบดมินตันในร่มนิยมทำด้วยปูนซีเมนต์ทาสี หรือวัสดุที่ทำให้เกิดความฝืด ต่อมาพัฒนาปรับปรุงเป็นพื้นไม้ปาร์เกต์ที่มีความสวยงามยืดหยุ่น และมีความฝืดพอสมควร ซึ่งพบเห็นมากในปัจจุบันนี้ ในทางตรงกันข้ามต่างประเทศกลับพัฒนาแบดมินตันในร่มไปเป็นพื้นที่เป็นยางผสม พลาสติก ซึ่งมีความฝืดมากกว่าสนามที่ปูด้วยไม้ปาร์เกต์เสียอีก ทำให้นักกีฬาไทย พบกับปัญหาในการแข่งขันในต่างประเทศ และความแตกต่างของพื้นสนามชนิดนี้ทำให้มีการสั่งซื้อมาใช้ในประเทศอยู่หลาย แห่งจนปัจจุบันนักกีฬา มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับสนามในประเภทนี้ 

เสา 

   เสาแบดมินตันจะต้องมีความสูง 5 ฟุต 1 นิ้ว จากพื้นสนาม เสาจะต้องมีความมั่นคง พอที่จะรักษาตาข่ายให้ขึงตึงอยู่ได้และจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างสนาม ในกรณีที่ปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้ จะต้องใช้วิธีหนึ่งแสดงให้เห็นว่าเส้นเขตข้างอยู่ใต้ตาข่าย ตรงจุดใดก็ได้ เช่น เสายาว ๆ หรือหาวัตถุอย่างหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 นิ้วฟุต ไว้ที่เส้นเขตข้างให้ตั้งชี้ขึ้นมา ที่ตาข่ายถ้าใช้วิธีนี้กับสนามเล่นประเภทคู่ เสายาว ๆ นี้ต้องปักที่เส้นเขตข้างของสนาม ส่วนสนามการเล่นประเภทเดี่ยว ก็ปักไว้ที่เส้นเขตข้างของสนามเหมือนกัน 


ตาข่าย 

     ตาข่ายจะต้องทำด้วยดายเส้นละเอียดสีเข้มและมี ขนาดตาเท่า ๆ กัน มีตากว้างยาว 5 ส่วน 8 ฟุต ตาข่ายต้องขึงให้ตึงจากเสาต้นหนึ่งถึงอีกต้นหนึ่ง ตาข่ายต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว ส่วนบนของตาข่ายต้องอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางสนาม 5 ฟุต และเสาต้องอยู่ห่างจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาว พับสองขนาดกว้าง 3 นิ้ว มีเชือกหรือเส้นลวดตลอดแถบผ้าขาวนี้และขึงตึงอยู่ระดับกับหัวเสาทั้ง 2 ข้าง 

ความแตกต่างของตาข่ายที่ขึงด้วยเชือก กับเส้นลวดนั้นอยู่ที่การสะบัดของลูกขนไก่ ถ้าเป็นเชือก เมื่อลูกขนไก่กระทบถูกขอบบนสุดของตาข่ายจะมีโอกาสสะบัดพลิกตาข่าย แต่ถ้าเป็นการขึงด้วยเส้นลวดนั้นความยืดหยุ่นมีน้อย ดังนั้นเมื่อชนกับลูกขนไก่ที่เกิดจากแรงตีจะไม่ค่อยมีโอกาสพลิก ซึ่งปัจจุบันสนามที่เป็นมาตรฐานนิยมขึงด้วยลวดสลิงเป็นส่วนมาก และตาข่ายในบางสถานที่นิยมใช้เส้นด้ายคู่ ซึ่งมีสภาพทนทานกว่าและไม่ผิดกติกา

   การเล่นแบดมินตัน

การเสิร์ฟ มีอยู่ 2 แบบ คือ

 1.การเสริฟสั้น จับไม้ข้างขวายกไม้ขึ้นตั้งฉากกับหัวไหล่ หัวไม้อยู่ระดับเอวมืออีกข้างจับลูกขนไก่จรดกับปลายหัวไม้ยืนชิดเส้นเสริฟหันทิศทางไปยังที่จะเสริฟก้าวเท้าซ้ายไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย


        






2.การเสริฟยาว จับไม้ข้างขวายื่นไม้ไว้ข้างลำตัวมืออีกข้างถือลูกขนไก่ในระดับไหล่ยืนกลางคอร์ตก้าวเท้าขวาถอยไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย








   การตั้งรับ
หลังจากเสริฟออกไปแล้วคู่ต่อสู้ก็จะทำเกมส์รุกใส่เรา เราจำเป็นที่จะต้องตั้งรับเกมส์รุกของคู่ต่อสู้ โดยมีวิธีตั้งรับดังนี้ ยืนกลางคอร์ตแยกเท้าออกทั้งสองข้างพอประมาณ ย่อเข่าเล็กน้อย ยกไม้ขึ้นไว้ระดับไหล่สายตามองตรงไปยังคู่ต่อสู้

1. การตบ
การตบเป็นการทำเกมส์รุกใส่คู่ต่อสู้เพื่อทำคะแนน การตบมีวิธีการดังนี้ยืนกลางคอร์ตแยกเท้าขวาไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ยกไม้ขึ้นเหนือหัวแขนขวาตั้งฉากกับหัวไหล่แขนอีกข้างยกขนานกับทิศทางที่จะตบตามองไปยังเป้าหมายที่จะตบ


   


การหยอด

การหยอดเป็นการตั้งรับหรือรุกในเวลาเดียวกันเป็นการชิงความได้เปรียบในแดนหน้า การหยอดควรหยอดใช้ชิดตาข่ายให้มากที่สุด การหยอดมีวิธีการดังนี้
ยืนชิดหน้าตาข่ายหันตัวไปในทิศทางที่จะหยอด แยกเท้าซ้ายไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย จับไม้อยู่ในระดับตาข่าย


    
         
  


การโยน
    การโยนเป็นการทำลายจังหวะของคู่ต่อสู้และทำให้คู่ต่อสู้ต้องเคลื่อนที่ไปรับลูกที่ท้ายคอร์ต เป็นการเปิดช่องด้านหน้าให้เราทำคะแนน การโยนมีวิธีการดังนี้

ยืนหันทิศทางไปยังด้านที่จะโยน แยกเท้าซ้ายไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ถือไม้ไว้ข้างลำตัว
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น